คนพิการทำงาน: สิทธิและโอกาสในตลาดแรงงาน

ในปัจจุบัน สังคมเริ่มมีทัศนคติเชิงบวกต่อคนพิการมากขึ้น ความหลากหลายและความแตกต่างในสังคมได้รับการยอมรับ และมีการเห็นคุณค่าของคนพิการในหลายด้าน การส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคม คือสภาพแวดล้อมที่ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงสิทธิและโอกาสต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน การจ้างงานคนพิการเป็นหนึ่งในวิธีสำคัญในการส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมในสังคม 

ซึ่งการจ้างงานคนพิการในตลาดแรงงานถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยเองมี พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เป็นมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ โดยเฉพาะในการสร้างโอกาสในการทำงานและการมีส่วนร่วมในสังคม เพื่อให้คนพิการให้ได้รับสิทธิประโยชน์และการอํานวยความสะดวกเพิ่มขึ้นและมีโอกาสได้พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองมากขึ้น

หลักเกณฑ์ในการจ้าง

  1. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการทั้งเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป
  2. ต้องรับคนพิการที่สามารถทำงานทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดเข้าทำงาน
  3. สัดส่วนของการรับคือ ลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการ 100 คน ต่อคนพิการ 1 คน เศษของ 100 ถ้าเกิน 50 คน ต้องรับคนพิการเพิ่มขึ้นอีก 1 คน เช่น มีลูกจ้าง 151 คน ก็ต้องจ้างคนพิการ 2 คน
  4. การนับจำนวนลูกจ้างให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคมของ ทุกปี
  5. กรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีหน่วยงาน หรือสำนักงานสาขาในจังหวัดเดียวกัน ให้นับรวมลูกจ้างของหน่วยงานหรือสำนักงานทุกแห่งในจังหวัดนั้นเข้าด้วยกัน

จะเห็นได้ว่า การจ้างงานคนพิการตามกฎหมายมีความสำคัญในหลายด้านที่ส่งผลดีต่อทั้งคนพิการและสังคมโดยรวม ไม่เพียงแต่ช่วยให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ แต่ยังเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมและช่วยให้เกิดความหลากหลายในการทำงาน ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสและความเท่าเทียมที่จำเป็นในสังคมปัจจุบัน การสนับสนุนการจ้างงานคนพิการจึงไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังเป็นการสร้างสังคมที่มีความเข้าใจและสนับสนุนกันอย่างแท้จริง