ในปัจจุบัน การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อความเป็นธรรมและสิทธิของแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีกฎหมายแรงงานที่ชัดเจน แต่ยังมีการกระทำที่ผิดกฎหมายแรงงานเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพการทำงานและคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง
ดังนั้น จึงมีกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมและไม่ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบเกินสมควร คือการที่ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนโอที (OT) หรือค่าล่วงเวลาการทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตามพระบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าล่วงเวลา
1. ค่าล่วงเวลาในวันทำงาน
- ลูกจ้างรายวัน คำนวณตามผลงาน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาโอทีให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง (1.5)
- ลูกจ้างรายเดือน กรณีที่ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาของวันทำงานปกติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาโอทีให้กับพนักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง (1.5) ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติ โดยหากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติเกิน 2 ชั่วโมง ต้องพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที
2. ค่าล่วงเวลาในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี
- ลูกจ้างรายวัน คำนวณตามผลงาน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาโอทีให้กับลูกจ้าง 3 เท่าของค่าจ้าง
- ลูกจ้างรายเดือน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาโอทีให้กับลูกจ้าง 3 เท่าของค่าจ้าง
ดังนั้น การเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานเกี่ยวกับค่าล่วงเวลาไม่เพียงแต่ช่วยคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างแต่สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นธรรมและเสมอภาค สำหรับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง