-
การรับพนักงานใหม่: เคล็ดลับและขั้นตอนที่ HR ควรรู้เพื่อการเริ่มต้นอย่างมืออาชีพ
Read More: การรับพนักงานใหม่: เคล็ดลับและขั้นตอนที่ HR ควรรู้เพื่อการเริ่มต้นอย่างมืออาชีพการรับพนักงานใหม่ไม่ใช่แค่การเลือกคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน แต่ยังเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องการความใส่ใจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงวันแรกของการทำงาน เพื่อสร้างความประทับใจแรกและช่วยให้พนักงานปรับตัวได้อย่างราบรื่นและแนวทางและเคล็ดลับสำคัญที่ควรรู้สำหรับ HR ตั้งแต่เริ่มเปิดรับสมัคร การสัมภาษณ์ การจัดการเอกสาร การทำสัญญาจ้าง ไปจนถึงการ Onboarding พนักงานใหม่ ที่จะช่วยให้การรับพนักงานใหม่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ การเตรียมตัวก่อนเปิดรับสมัครงาน 1. กำหนดคุณสมบัติของตำแหน่งงานที่ชัดเจนเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจถึงความต้องการของตำแหน่งงาน เช่น การกำหนดคุณสมบัติเหล่านี้อย่างละเอียดจะช่วยลดเวลาในการคัดกรองและเพิ่มโอกาสในการได้ผู้สมัครที่ตรงกับความต้องการ 2. เตรียมรายละเอียดตำแหน่งงาน (Job Description)คำบรรยายตำแหน่งงานควรชัดเจน ครบถ้วน และดึงดูดผู้สมัคร โดยระบุถึง: การมี Job Description ที่ดีจะช่วยให้ผู้สมัครเข้าใจบทบาทและเพิ่มความสนใจในตำแหน่งนั้น ขั้นตอนการรับสมัครและคัดเลือกผู้สมัคร 1. การคัดกรองใบสมัครเมื่อเปิดรับสมัคร HR ควรมีกระบวนการคัดกรองที่ชัดเจน โดยพิจารณาคุณสมบัติสำคัญ เช่น 2. การสัมภาษณ์และการประเมินทักษะการสัมภาษณ์ช่วยให้ HR เข้าใจศักยภาพและความเหมาะสมของผู้สมัครในเชิงลึก โดยใช้คำถามที่เน้น: นอกจากนี้ อาจเพิ่มการทดสอบความสามารถ เช่น การทำงานจำลอง หรือแบบทดสอบทักษะ เพื่อประเมินความสามารถอย่างละเอียด การจัดการเอกสารและการเซ็นสัญญาจ้าง 1. การรวบรวมเอกสารสำคัญHR ควรแจ้งให้ผู้สมัครเตรียมเอกสาร เช่น: การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในบางตำแหน่งก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อความปลอดภัยขององค์กร 2.…
-
รัฐบาลเตรียมแจก 10,000 บาท เฟส 2 ให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เริ่มต้นช่วงตรุษจีนปีหน้า
Read More: รัฐบาลเตรียมแจก 10,000 บาท เฟส 2 ให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เริ่มต้นช่วงตรุษจีนปีหน้ารัฐบาลเดินหน้าโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทในเฟสที่ 2 โดยเน้นการสนับสนุนกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยอาจไม่ได้ทุกคน เพราะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด ประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปต้องลงทะเบียนในระบบแอปพลิเคชั่น ทางรัฐ และยืนยันตัวตนผ่านระบบ KYC แล้ว นั่นหมายความว่า อายุ 60 ปีแต่ไม่ได้ลงทะเบียนกับทางรัฐไว้ อาจไม่ได้เงิน หรือ มีรายได้เกิน 7 หมื่น และมีเงินในบัญชีธนาคารเกิน 5 แสนบาท ก็ไม่อยู่ในกลุ่มที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ ตามที่ นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ประกาศจากที่การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 ที่กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ว่าเดินหน้านโยบายรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินดิจิทัลเฟส 2 และเฟสถัดไปเพื่อโอนเงินหนึ่งหมื่นบาทให้ประชาชนทุกคนที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” ของรัฐบาล รัฐบาลเดินหน้าโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในเฟสที่ 2 พร้อมเปิดเงื่อนไขและคุณสมบัติสำหรับกลุ่มผู้มีสิทธิ์ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้: คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ วิธีลงทะเบียน ผู้ที่ผ่านเกณฑ์จะต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการยืนยันสิทธิ์และรับเงินดิจิทัล…
-
OKR: เครื่องมือสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจ
Read More: OKR: เครื่องมือสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจในโลกธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการองค์กร หนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังในการบริหารเป้าหมายคือ OKR (Objectives and Key Results) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมโยงเป้าหมายระหว่างทีมและบุคคลให้สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร โดยมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วนหลัก ดังนี้ Objectives (เป้าหมาย) เป้าหมายที่ต้องการทำให้บรรลุ ต้องชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย ซึ่งมีประมาณ 3-5 อย่าง ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการทำงานของพนักงานแต่ละคน รวมทั้งบทบาทต่อทีมและองค์กร โดยจะมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงหรือผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายที่ไม่ง่ายจนเกินไป เพื่อเป็นความท้าทายให้ทุกคนอยากบรรลุเป้าหมายนั้น แต่ก็ต้องไม่ยากจนเกินไปจนทำให้เกิดความท้อถอยตั้งแต่เริ่มลงมือ Key Results (ผลลัพธ์สำคัญ) เป็นตัววัดผลที่ชัดเจนและสามารถวัดผลความสำเร็จของเป้าหมายหลักได้ ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายย่อยลงมาอีก 3-5 ข้อย่อยต่อ 1 เป้าหมาย เพื่อให้เป้าหมายที่กำหนดมีการทำงานและพัฒนาขึ้นไปในทางที่เป็นไปได้ โดยการวัดผลนั้นควรมีความชัดเจนและวัดผลได้ เช่น ใช้ตัวเลข เปอร์เซ็นต์ หรือผลลัพธ์ที่ตรวจสอบได้ ควรตั้งให้กระตุ้นการทำงาน ไม่ง่ายจนเกินไป แต่ต้องไม่ยากจนเกินความสามารถ มีเวลาเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ระบุกรอบเวลาในการบรรลุเป้าหมาย และสอดคล้องกับ Objective ซึ่งอาจมีการวัดผลทุกเดือน หรือทุกไตรมาสธุรกิจ เพื่อให้พนักงานแต่ละคนสามารถวัดผลการทำงานของตัวเองได้เป็นประจำ ดังนั้น…
-
เสียงสะท้อนจากสัตว์: การทารุณกรรมและการคุ้มครองสัตว์
Read More: เสียงสะท้อนจากสัตว์: การทารุณกรรมและการคุ้มครองสัตว์การทารุณกรรมสัตว์ไม่ใช่แค่ปัญหาทางศีลธรรม แต่ยังเป็นเรื่องที่ถูกกำกับดูแลภายใต้กฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่ได้กำหนดบทบัญญัติทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำทารุณต่อสัตว์ โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายเหล่านี้คือการสร้างความรับผิดชอบทางสังคมในการดูแลสัตว์ ลดความเจ็บปวดที่สัตว์ต้องเผชิญ และสร้างความตระหนักในการเคารพสิทธิ์ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในประเทศไทย กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์คือ พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทยที่ระบุถึงสิทธิและการคุ้มครองสัตว์อย่างเป็นทางการ โดยมีเป้าหมายในการป้องกันการทารุณกรรมและการละเลยสัตว์ มุ่งคุ้มครอง “สัตว์” โดยแบ่งเป็น สัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นิยามคำว่า “การทารุณกรรม” แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ๑.เป็นการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย ๒. ให้หมายความรวมถึงการใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชรา หรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้อง เพื่อแสวงหาประโยชน์ รวมถึงการใช้สัตว์ประกอบกามกิจ ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควร…
-
เปิดยอดผู้เสียหายคดี ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ ทะลุหมื่นราย มูลค่าความเสียหายกว่า 3พันล้านบาท
Read More: เปิดยอดผู้เสียหายคดี ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ ทะลุหมื่นราย มูลค่าความเสียหายกว่า 3พันล้านบาทเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 67 ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รายงานสรุปจำนวนผู้เสียหายและมูลค่าความเสียหายจากคดีบริษัท “ดิไอคอนกรุ๊ป” ซึ่งเป็นคดีหลอกลวงการลงทุน โดยมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายมาให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารประชาอารักษ์ กองบังคับการปราบปราม โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. มีจำนวนผู้เสียหายที่ได้ให้การสอบปากคำแล้วทั้งสิ้น 3,671 ราย รวมมูลค่าความเสียหายเฉพาะที่มีการสอบปากคำแล้วกว่า 1,235 ล้านบาท และมียอดรวมสะสม จากจำนวนผู้เสียหายที่สอบปากคำแล้ว 6,789 ราย มูลค่าความเสียหายรวม 1,978 ล้านบาทเศษ ปัจจุบัน ยอดรวมผู้เสียหายที่เข้าให้ปากคำกับศูนย์รับแจ้งความร้องทุกข์ในคดีบริษัท “ดิไอคอนกรุ๊ป” จากศูนย์รับแจ้งความร้องทุกข์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 10,460 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 3,213 ล้านบาท
-
ผู้เยาว์ทำนิติกรรมใดได้บ้าง
Read More: ผู้เยาว์ทำนิติกรรมใดได้บ้างตามกฎหมายไทย “ผู้เยาว์” คือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยกำหนดอายุบรรลุนิติภาวะไว้ที่ 20 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์จึงหมายถึงผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งมีข้อจำกัดทางกฎหมายในการทำธุรกรรมหรือการกระทำทางกฎหมาย (นิติกรรม) เนื่องจากกฎหมายถือว่าผู้เยาว์ยังขาดความสามารถและประสบการณ์เพียงพอในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อย่างรอบคอบ นอกจากนี้ ยังเป็นการปกป้องสิทธิและทรัพย์สินของผู้เยาว์จากการถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย ดังนั้น การที่ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีสิทธิ์ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในนิติกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้เยาว์จากการถูกเอาเปรียบในธุรกรรมที่ซับซ้อนหรือมีภาระผูกพันที่อาจไม่สามารถรับผิดชอบได้ เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ บิดา มารดา ที่มีอำนาจปกครองบุตร หรือบุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามกฎหมาย และหากผู้เยาว์ทำนิติกรรมใด ๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน นิติกรรมนั้นจะถือว่าเป็น “โมฆียะ” หมายความว่านิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ แต่สามารถยกเลิกได้ในภายหลัง แม้ผู้เยาว์จะยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่กฎหมายก็อนุญาตให้ผู้เยาว์ทำ “นิติกรรมบางประเภท” ได้ ดังนี้ กฎหมายกำหนดให้ผู้เยาว์ทำบางนิติกรรมได้เองเพียงลำพังหากเป็นธุรกรรมเล็กน้อยหรือธุรกรรมที่เป็นประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว แต่การทำธุรกรรมที่มีผลกระทบหรือมีภาระผูกพันจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง กฎหมายจึงมีความยืดหยุ่นในการคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้เยาว์
-
มรดก: ทรัพย์สิน สิทธิ และความรับผิดชอบหลังการจากไป
Read More: มรดก: ทรัพย์สิน สิทธิ และความรับผิดชอบหลังการจากไปกฎหมายลักษณะมรดก มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2478 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนทรัพย์สินและสิทธิทางกฎหมายของบุคคลหลังจากที่บุคคลนั้นถึงแก่กรรม กฎหมายมรดกถือเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อการจัดการทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตและความสัมพันธ์ในครอบครัว มรดก คือ ทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของผู้ตาย และมรดกรวมถึงสิทธิและหน้าที่ ความรับผิดต่างๆ ของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ตายด้วย มรดกที่เป็นทรัพย์สิน คือ สิ่งที่มีค่า มีราคา เช่น ที่ดิน บ้าน รถยนต์ เป็นต้น มรดกที่เป็นสิทธิ คือ สิ่งที่จะได้มาหรือที่มีอยู่ เช่น สิทธิตามสัญญากู้ยืมเงิน สิทธิตามสัญญาเช่า สิทธิในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ในการได้รับเงินคืน เป็นต้น ในส่วนของ มรดกที่เป็นความรับผิด คือ เป็นเรื่องที่จะต้องชดใช้ เช่น ความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่มี การก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ผู้อื่น หรือความรับผิดที่เกิดจากการผิดข้อสัญญาต่าง ๆ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ใครบ้างที่จะมีสิทธิได้รับมรดก หรือเป็น ทายาทของผู้ตาย บุคคลซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย กฎหมายกำหนดไว้ 2 ประเภทคือ 1. ทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยผลของกฎหมาย หมายถึง…
-
“PDPA: กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในยุคดิจิทัล”
Read More: “PDPA: กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในยุคดิจิทัล”ปัจจุบันถือเป็นยุคสมัยที่เศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ข้อมูลจึงกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีมูลค่ามหาศาลสำหรับองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ ข้อมูลส่วนบุคคล ที่ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าและมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในหลากหลายด้าน เช่น การตลาด การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงแค่ช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ แต่ยังช่วยในการปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและสร้างโอกาสในการแข่งขันในตลาดที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญและมีมูลค่ามหาศาล จึงทำให้การจัดการและการปกป้องข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดการรั่วไหลหรือถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อบุคคล และทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งทางกฎหมายและทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลไม่เพียงแต่ส่งผลต่อบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในวงกว้างได้ เช่น การทำลายความไว้วางใจของลูกค้าหรือผู้บริโภคในธุรกิจ การสูญเสียความเชื่อมั่นในระบบดิจิทัล หรือแม้กระทั่งการถูกฟ้องร้องและรับผิดชอบทางกฎหมายที่อาจส่งผลกระทบทางการเงิน รวมถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่น การขโมยข้อมูลเพื่อการฉ้อโกง การกลั่นแกล้งออนไลน์ หรือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในทางอื่นๆอย่างรุนแรง PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒” จึงมีขึ้นเพื่อให้ภาคเอกชน และภาครัฐ (บุคคล/นิติบุคคล) ที่เป็นผู้เก็บรวมรวมหรือถือครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในทางกฎหมาย มีฐานะเป็น Data Controller ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยต้องจัดให้มีมาตรการดูแล และปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว และที่สำคัญต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลนั้น และหากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด…
-
จับหนุ่มวัย 20 ตีนแมวลักทรัพย์บ้านตำรวจ ได้ทรัพย์สินกว่า 2 แสน สารภาพก่อเหตุมาแล้ว 20 ครั้ง
Read More: จับหนุ่มวัย 20 ตีนแมวลักทรัพย์บ้านตำรวจ ได้ทรัพย์สินกว่า 2 แสน สารภาพก่อเหตุมาแล้ว 20 ครั้งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 พ.ต.อ.เอกสิทธิ์ ปานสีทา ผกก.4 บก.ป. พร้อมด้วย พ.ต.ท.ปิยะพร เรียนสุทธิ์ สว.กก.4 บก.ป. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บางบัวทอง ร่วมกันจับกุม นายก้องกิดากร ทองรวย อายุ 20 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดนนทบุรี ที่ 1057/2567 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ในข้อหาลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นและใช้ยานพาหนะในการก่อเหตุ หลังจากเจ้าหน้าที่สืบทราบว่า ผู้ต้องหาหลบหนีไปพักอาศัยอยู่ที่หอพักในพื้นที่ ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี จึงนำกำลังเข้าจับกุมได้ที่เกิดเหตุ การจับกุมครั้งนี้มาจากการสอบสวนกรณีที่ผู้ต้องหาก่อเหตุบุกเข้าไปลักทรัพย์ภายในบ้านของ ด.ต. (ข้าราชการตำรวจ) สภ.บางบัวทอง โดยได้ทรัพย์สินไปกว่า 2 แสนบาท ซึ่งรวมถึงเบ็ดตกปลาและไม้เบสบอล หลังจากนั้นผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ สภ.บางบัวทอง และศาลได้ออกหมายจับผู้ต้องหาดังกล่าว จากการสอบสวน นายก้องกิดากร รับสารภาพว่า ได้ก่อเหตุลักทรัพย์บ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ จ.ปทุมธานี, นนทบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 20…
-
กฎหมายคุ้มครองการใช้แรงงานเด็ก
Read More: กฎหมายคุ้มครองการใช้แรงงานเด็กแรงงานเด็ก คือ ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 18 ปี โดยการทำงานนั้นเป็นการทำงานเต็มเวลา ที่มีชั่วโมงการทำงานระหว่าง 14-43 ชั่วโมง/สัปดาห์ การใช้แรงงานเด็กในลักษณะที่ละเมิดกฎหมายหรือข้อบังคับที่กำหนดขึ้นนั้นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะด้านการศึกษา สุขภาพ และพัฒนาการทางสังคมและจิตใจ เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิและความปลอดภัยของเด็ก สร้างอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษา จำกัดสิทธิและโอกาสในอนาคตของเด็ก ดังนั้น นายจ้างที่จะจ้างแรงงานเด็กต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบทางกฎหมายและจริยธรรม นายจ้างที่จ้างเด็กต้องทราบข้อกำหนดและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานเด็กเพื่อให้การจ้างงานนั้นเป็นไปตามกฎหมายและคุ้มครองสิทธิของเด็กอย่างถูกต้องตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก 1. ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง ตามมาตรา 44 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมาเป็นลูกจ้าง เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและอาจได้รับผลกระทบทางร่างกายและจิตใจจากการทำงาน 2. การจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 15-18 ปี หากนายจ้างต้องการจ้างงานเด็กในช่วงอายุดังกล่าว จะต้องแจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 15 วันนับจากวันที่เด็กเข้าทำงาน และต้องแจ้งการสิ้นสุดการจ้างงานต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วัน…